บ้านเกาะพิทักษ์
ข้อมูลเกาะพิทักษ์
บ้านเกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 อยู่ในเขตการปกครองของตำบล บางน้ำจืด อำเภอ หลังสวน
อยู่ห่างจากอำเภอ หลังสวน 12 กิโลเมตร
พื้นที่บ้านเกาะพิทักษ์มีทั้งหมด 712 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ถูกรอบล้อม ด้วยน้ำทะเล เป็นเกาะขนาดเล็กในอ่าวไทย ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งของหมู่บ้าน ของหมู่ที่ 13 ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร มีสันทรายเชื่อมต่อกับพื้นที่ชายฝั่ง หมู่13 ในช่วงฤดูที่น้ำทะเลลด สามารถเดินข้ามไปมา ได้
ด้วยลักษณะทางกายภาพ ของบ้านเกาะพิทักษ์ เป็นพื้นที่เกาะขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นภูเขาโดด 2 ลูก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของหมู่บ้าน มีประชากรอาศัยอยู่ 12 ครัวเรือน
ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ตอนบนเป็นพื้นที่ลาดหินทอดตัวจากเขา โดยด้านทิศเหนือตอนกลางเป็นพื้นที่ ลาดระหว่างเขา และที่ราบจากฝั่งทะเล มีหินที่เกิดจากการทับถมของทราย วางตัวในแนวเหนือใต้ มีพื้นที่กำบังลม มีการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านตามแนวชายหาด มีช่องว่างระหว่างเนินเขา ถัดลงไปเป็นอาวขนาดเล็ก มีหาดทรายสวย บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน
สรุปผลการสำรวจแบบสอบถามจากชาวบ้าน
จากการสอบถามชาวบ้านชุมชนเกาะพิทักษ์ได้ผลสรุปคือ เกาะพิทักษ์แห่งนี้ เดิมทีมีชื่อว่า เกาะผีทัก ตั้งอยู่ที่ บ้านเกาะพิทักษ์ หมู่ 14 ต. บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร มีรายละเอียดดังนี้
อาชีพหลักของคนบนเกาะ
- การประมง
- สวนมะพร้าว
- สวนยางพารา
- เปิดโฮมสเตย์ ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
- ร้านขายของขนาดเล็กทั่วไป
ร้านค้าขายของทั่วไป
โฮมสเตย์ และสวนมะพร้าว
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะ
- 300-400 คน
จำนวนที่อยู่อาศัย(หลังคาเรือน)
- 40 หลังคาเรือน
การคมนาคม
- การคมนาคมส่วนใหญ่จำเป็นที่จะต้องใช้เรือ โดยขับเรือข้ามทะลไปถนนทางบกเพื่อจะนั่งรถต่อไป
- สามารถเดินจากเกาะมาจนถึงถนนทางบกได้ เมื่อน้ำลง
รายได้การทำอาชีพประมง/1หลังคาเรือน
- ประมาน 5,000บาท/เดือน (รายได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ออกประมง)
ลมมรสุม
- เมื่อสมัยก่อน 30-40 ปี เคยมีลมมรสุมจากทะเลาะพัดเข้าเกาะ จนได้รับความเสียหายมาก
สถานีอนามัยบนเกาะ
- ไม่มีสถานีอนามัย แต่จะมีเจ้าหน้าที่จากตัวเมืองมาให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยต่างๆ และมีการควบคุมสาธารณสุขของเกาะ
สถานศึกษา
- ไม่มี
วิถีชีวิตความเป็นอยู่
- มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของนายหลวง มีความใคร่สามัคคีกันเสมือนญาติพี่น้องกัน ประกอบอาชีพที่สุจริต มีอัธยาศัยดี
สาธารณูปโภค
- มีน้ำประปาใช้ซึ่งมาจากทางจังหวัดโดยการฝังท่อผ่านทะเลและส่งน้ำมาที่เกาะ
- มีบ่อน้ำใต้ดิน ที่ชาวบ้านไปตักใช้อยู่เป็นประจำ
- น้ำฝน ได้มากจากการกักเก็บน้ำของชาวบ้านแต่ละบ้าน
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์โดยการสอบถามจากชาวบ้าน
- เพื่อศึกษาระบบนิเวศต่างๆบนเกาะ
- เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศต่างๆ
- สืบค้น และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์
- วางแผนในการจัดทำโครงงาน
- ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
- รวบรวมข้อมูลจากการสอบถามชาวบ้าน
- นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำบล็อกนำเสนองาน
ขอบเขตการศึกษา
- ขอบเขตด้านพื้นที่ : บ้านเกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่หมู่ที่14 อยู่ในเขตการปกครองของตำบล บางน้ำจืด อำเภอ หลังสวน อยู่ห่างจากอำเภอ หลังสวน 12 กิโลเมตร
- ขอบเขตด้านเนื้อหา : ศึกษาและแนวคิด ด้านการรักษาระบบนิเวศน์ ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า : การนำวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ นำมาใช้ประโยชน์ในการลดมลพิษทางน้ำ รวมทั้งการนำเศษอาหารและผลไม้ มาสกัดรวมกัน ซึ่งเกิดเป็นน้ำยาอเนกประสงค์
วิธีดำเนินงาน
- จัดเตรียมหัวข้อในการจัดหาข้อมูลของเกาะพิทักษ์
สรุปผลการดำเนินงาน
- จากการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์จากชาวบ้านในพื้นที่แล้วพบว่า ข้อมูงที่ได้นั้นมีความคล้ายคลึงกับข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สืบค้นมาจากอินเตอร์เน็ต แต่จะมีบางส่วนที่มีการเสริมเติมเข้ามาจากข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลนี้คือข้อมูลที่ได้จากวิถีชีวิตจริงๆของผู้คนบนเกาะ
- - การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งในเกาะและบริเวณโดยรอบเกาะพิทักษ์ ชาวบ้านนั้นช่วยกันดูแลรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องไปกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การทำน้ำยาล้างจาน ยาสระผม โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการจัดทำ ไฮโดรเจนบอล ซึ่งมีผลในการปรับสภาพน้ำเสียให้มีสภาพที่ดีขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของเกาะพิทักษ์นั้นสวยงาม น่าอยู่
- การเป็นชุมชนต้นแบบในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในชวิตประจำวัน ทำให้ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์มีความเข้มแข็ง ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
2. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่า
3. ได้ทราบชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่เรียบง่ายแต่มีความสุขของชาวบ้าน
4. ได้ทราบถึงทำประมงในการประกอบอาชีพของชาวบ้าน
5. ได้ความสามัคคี เสริมสร้างไมตรีต่อกันและกันของเพื่อนในคณะ และกับชาวบ้าน
6. ได้เรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติที่ทรงคุณค่าของเกาะพิทักษ์
7. ถือได้ว่าการทัศนศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ทางอ้อม คือ เป็นการพักผ่อน
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นายชัยธัช เรืองพระยา 54170128
2. นายนนท์ธวัช เพชรอำภัย 54170134
3. นางสาวภัสราภรณ์ สวยงาม 54170219
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์ ภาคปกติ
มหาวิทยาลัยบูรพา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น